คลินิกกายภาพบำบัด บางพลัด MRT สิรินธร

ท่าบริหาร อาการปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังส่วนล่าง

การปวดหลังส่วนล่างเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ รวมถึงการบาดเจ็บหรือการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่าง นอกจากนี้ อาการปวดหลังส่วนล่างยังเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่นการนั่งทำงานนานเกินไป การยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ออกกำลังการผิดวิธี การเคลื่อนหรือทำกิจกรรมในท่าที่ไม่ถูกต้อง


ท่าบริหาร แก้อาการปวดหลัง

ท่าที่ 1 ท่าแมวและวัว (Cat and cow) : ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง

ท่าเริ่มต้น

  • อยู่ในท่าตั้งคลาน วางเข่าอยู่ระดับสะโพกและมือที่ระดับไหล่
  • จัดแนวกระดูกสันหลัง กระดูกคอ อกและเอวให้อยู่ระดับเดียวกัน

ท่ายืดหลังส่วนล่าง แอ่น

ท่ายืดหลังส่วนล่าง

ท่าแมว (Cat Pose) ทำขณะหายใจออก

  • โก่งหลังขึ้นหาเพดาน
  • ปล่อยศีรษะตกสบายๆ
  • ขมิบก้น กดเข่าลงพื้น
  • ขณะหายใจออก นับ1-3ช้าๆแล้วจึงเปลี่ยนเป็นท่าวัว

ท่าวัว (Cow Pose) ทำขณะหายใจเข้า

  • แอ่นหลังและหย่อนหน้าท้องลงหาพื้น
  • เงยหน้ามองเพดานหรือมองไปด้านหน้า

 ทำท่าแมวและวัวสลับกันช้าๆ นับเป็น 1 รอบ ทำ 10 รอบต่อวัน

ท่าที่ 2 ท่าเกร็งกดหลังและหน้าท้องลง (Pelvic tilt) : นอกจากช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ทั้งหลัง ก้นและหน้าท้องแล้ว ยังช่วยเพิ่มแรงดันในช่องท้องประคองไม่ให้แรงมากระทำกับกระดูกสันหลังมากเกินไป

ท่าวัว

  • นอนหงาย ชันเข่าทั้งสองข้าง
  • เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องและสะโพกโดยการขมิบก้น แขม่วท้อง กดหลังติดพื้น
  • เกร็งค้างไว้นับ 1-5 ช้าๆ แล้วปล่อย ไม่ควรกลั้นหายใจขณะเกร็ง
  • นับ 1-5 ถือเป็น 1 รอบ ทำ 10 รอบ/เซต (เช้า-เย็น)

ท่าที่ 3 ท่านอนบิดสะโพก (Trunk rotation) : เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณสะโพก

ท่านอนบิดสะโพก

  • นอนหงาย ชันเข่าทั้งสองข้าง
  • บิดเข่าทั้งสองข้างไปด้านใดด้านหนึ่งจนรู้สึกตึงบริเวณหลัง
  • ค้างไว้ 5 วินาที โดยไม่กลั้นหายใจ เพื่อเป็นการยืดหลัง
  • ทำ 10 ครั้ง/เซต ทั้งหมด 10 เซต/วัน

*ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังไม่คงที่และผู้ป่วยที่มีอาการชา หรือปวดร้าวลงขา ควรหยุดทันที

ท่าที่ 4 ท่าดึงเข่าชิดอก (Single knee to chest) : บริเวณหลังส่วนล่างจะถูกยืดเหยียด และลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ

ท่าดึงเข่าชิดอก

  • นอนราบบนพื้น งอเข่าหนึ่งข้างเข้าหาลำตัว
  • ประสานนิ้วมือทั้งสองข้างช้อนใต้เข่า
  • ดึงเข่าเข้าหาหน้าอกให้มากที่สุด จนรู้สึกตึงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและไม่เจ็บ
  • ทำค้างไว้ข้างละ 20 วินาที แล้วค่อยๆผ่อนลงไปท่านอนราบเหมือนเดิม
  • ทำด้านขวาสลับด้านซ้ายถือเป็น 1 รอบ ทำ 10 รอบ/เซต (เช้า-เย็น)

ท่าที่ 5 ออกกำลังกายหน้าท้อง (Abdominal curl) : การที่กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงส่งผลให้กล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนลึกช่วยประคองให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงมากขึ้น แล้วทำให้ปวดหลังน้อยลง

  • นอนราบ ชันเข่าขึ้นทั้งสองข้าง
  • แขนสองข้างเหยียดตรงข้างลำตัว
  • ยกศีรษะและไหล่ขึ้นเหนือพื้นหรือเตียง
  • นับ 1-10 ค้างไว้ช้าๆ แล้วค่อยๆผ่อนลง ถือเป็น 1 รอบ
  • ค้าง 10 วินาที/รอบ ทำ 10 รอบ/เซต (เช้า-เย็น)

 

 

อาการปวดหลังส่วนล่างในผู้หญิงเกิดจากอะไรได้บ้าง

 

อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้หญิงและสาเหตุของอาการนี้อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ท่าทางไม่ถูกต้อง, การเคลื่อนไหวผิดปกติ, การบาดเจ็บหรือโรคทางการแพทย์ และบางปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในผู้หญิงได้ สาเหตุที่พบบ่อย มีดังนี้

1.การตั้งครรภ์: การถ่วงของครรภ์ที่อยู่ด้านหน้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กระดูกสันหลังแอ่นเป็นเวลานาน และการแบกรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวด นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะฮอร์โมนรีแลกซิน (Relaxin)  ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากรังไข่ขณะตั้งครรภ์ เพื่อช่วยกระตุ้นการคลายตัวเอ็นยึดกระดูกเชิงกรานให้คลอดง่ายขึ้น ซึ่งบางครั้งส่งผลให้มีอาการปวดหลังได้ รวมถึงเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนเป็นต้นไป ทารกจะดึงแคลเซียมจากกระแสเลือดคุณแม่ไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เป็นเหตุให้เกิดการกร่อนของกระดูก นำมาซึ่งอาการปวดหลังในที่สุด

2.รอบเดือน: เมื่อฮอร์โมนเอสโทรเจน(Estrogen)และโพรเจสเทอโรน (Progesterone) ลดระดับลงแล้ว มดลูกจะเริ่มหดตัวเพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน ซึ่งในผู้หญิงบางคน มดลูกอาจจะหดตัวเยอะมากจนไปกดเส้นเลือดในบริเวณใกล้เคียง ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อในบริเวณดังกล่าวได้มากเท่าที่ควร จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณท้องน้อย และลามมาถึงบริเวณหลังช่วงล่างได้

3.โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis): มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากฮอร์โมน เพศหญิงจะเห็นได้ชัดเจนในช่วง  5 ปีแรกของการหมดประจำเดือน ซึ่งในช่วงนั้นผู้หญิงจะมีการสูญเสียเนื้อกระดูกอย่างรวดเร็ว  (3-5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี ) หรือสูงถึง 15-25 เปอร์เซ็นต์ของกระดูกในร่างกาย การสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย ส่งผลต่ออาการปวดหลังได้

4.Arthritis: การอักเสบของข้อต่อในกระดูกสันหลังสามารถก่อให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ พบบ่อยในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้น

5.การเคลื่อนไหวผิดวิธีหรือได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อ: สาเหตุนี้สามารถเกิดจากการยกของหนักๆ หรือการงอตัวหรือหมุนตัวผิดวิธี รวมถึงท่าทางในการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจทำให้ปวดหลังส่วนล่างได้

6.ปัญหาโครงสร้างของกระดูกสันหลัง: ผู้หญิงที่มีโรคกระดูกสันหลังคด (scoliosis), โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis) หรือปัญหาโครงสร้างอื่นๆ ในกระดูกสันหลังอาจมีโอกาสเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้มากขึ้น

7.Disc herniation: สาเหตุอาจเกิดจากการยกของหนักในท่าที่ผิด ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเกิดการปลิ้นหรือในแตก อาจส่งผลให้มีการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้างเคียง เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างหรือบางรายอาจมรอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย

8.โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis): โดยอาจแทรกตัวอยู่ในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก หรืออาจเล็ดลอดเข้าไปในช่องท้องจนไปเจริญเติบโตอยู่ตามอวัยวะต่างๆในอุ้งชิงกราน เช่น เยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ผนังลำไส้ และผนังกระเพาะปัสสาวะ เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่นี้ ถือเป็นปฏิกิริยาการอักเสบที่ขึ้นกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen-dependent, benign, inflammatory disease) เมื่อไปเจริญเติบโตอยู่ผิดที่ก็จะยังคงทำหน้าที่เช่นเดิม คือ สร้างประจำเดือน จึงทำให้มีเลือดสีแดงคล้ำหรือสีดำข้นคล้ายช็อกโกแลตขังอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการผิดปกติต่างๆที่พบได้ในผู้ป่วยโรคนี้ เช่น ปวดท้องลามไปถึงหลังส่วนล่าง ปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และมีบุตรยาก

9.Fibromyalgia: เป็นกลุ่มอาการปวดเรื้อรัง โดยอาการปวดมักจะกระจายหลายจุดตามร่างกาย โดยเฉพาะที่เป็นตำเหน่ง ของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย บริเวณที่พบว่ามีอาการบ่อยคือ ศีรษะ คอ บ่า และหลัง บางรายปวดทั้งตัว นอกจากอาการปวดยังอาจมีอาการร่วมอื่นๆได้หลายอาการ ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย นอนหลับไม่ สนิท สมาธิและความจำถดถอย รวมถึงความเครียดและอารมณ์ซึมเศร้า พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 8 เท่า พบมากในวัยกลางคนอายุระหว่าง 35-60 ปี

10.โรคนิ่วในไต (Kidney Stone):เกิดจากการตกตะกอนของสารในปัสสาวะ  ในภาวะปติสารเหล่านี้จะละลายไม่จับตัวกันเป็นนิ่ว แต่ในผู้ที่เป็นโรคนิ่วจะมีภาวะที่ทำให้สารละลายต่างๆเกิดการตกตะกอนได้ง่ายกว่าปกติจนจับตัวเป็นก้อน หากเป็นนิ่วที่มีขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดเอวเรื้อรัง มีการติดเชื้อในระบบปัสสาวะ และทำทำไตสูญเสียการทำงานจนเกิดภาวะไตวายได้

11.Cystic ovary: ซีสต์มีลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปด้วยของเหลว ซึ่งสามารถก่อตัวขึ้นได้ในรังไข่ เมื่อเกิดการตกไข่ผิดปกติจะทำให้เกิดการคั่ง มีถุงน้ำในรังไข่ หรือไข่ไม่ตก ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำขนาดเล็กในรังไข่ทั้งสองข้าง มักพบอาการปวดท้อง ปวดปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะลำบาก เจ็บหรือปวดหลังส่วนล่าง ปวดประจำเดือนมากหรือมีเลือดออกผิดปกติ 

  1. ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease :PID) หมายถึง ภาวะที่มีการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน ได้แก่ มดลูก (endometritis) ท่อนำไข่ (salpingitis) รังไข่ (oophoritis) และเยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน (pelvic peritonitis) อาจก่อให้เกิดอาการปวดหลังล่าง รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น ปวดท้องและไข้ โดยส่วนต่างๆของระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง อาจเกิดการติดเชื้อ จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือจากเชื้อราและ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดหลังล่างหรืออาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาเพิ่มเติม

13.มะเร็ง: ในกรณีที่หากพบว่ามีอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างรุนแรงและไม่สามารถอธิบายได้ว่ามาจากสาเหตุใด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเกิดจากมะเร็งที่กระจายไปยังกระดูกสันหลังหรือเนื้อเยื่อใกล้เคียงได้

14.ภาวะน้ำหนักเกิน (Obesity):  ในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานส่งผลให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง น้ำหนักที่มากขึ้นบวกกับพุงที่ยื่นมาด้านหน้า ทำให้กล้ามเนื้อหลังออกแรงดึงมากขึ้น หลังแอ่นมาก และหากต้องดึงเป็นเวลานานๆ จะส่งผลให้หมอนรองกระดูกรับน้ำหนักไม่สมดุลกัน อาจเคลื่อนหรือปลิ้นทับเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อมเร็ว ปวดหลังเรื้อรังร้าวลงไปขา บางครั้งอาจมีการอ่อนแรงร่วมด้วย

15.ปัจจัยทางจิตวิทยา: ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า สามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ในผู้หญิงเมื่อความเครียด กล้ามเนื้อเกร็งตัวโดยที่เราไม่รู้ตัวและความกังวลจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความเครียด ร่างกายจึงหลั่งสารเคมีแห่งความเครียดออกไปสู่กล้ามเนื้อ เมื่อเกิดการสะสมากๆ ก็จะเกิดอาการปวดตามมาได้ เช่น ปวดหลัง, ไหล่และคอ เป็นต้น

 

วิธีการรักษาอาการปวดหลังล่างในผู้หญิงจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค และอาจรวมถึงการใช้ยารักษาอาการปวด กายภาพบำบัด การออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนักและเลิกสูบบุหรี่ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องผ่าตัด เช่น ในกรณีของการทำลายเส้นประสาทสันหลังหรือกระดูกสันหลังแตกอย่างรุนแรง จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาการและความกังวลที่อาจมีเสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้

 

 

 

 

5 ท่าบริหาร แก้อาการปวดหลังส่วนล่าง

ท่าบริหาร แก้อาการปวดหลัง

อาการปวดหลังส่วนล่างเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ รวมถึงการบาดเจ็บหรือการอักเสบของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่าง นอกจากนี้ อาการปวดหลังส่วนล่างยังเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่นการนั่งทำงานนานเกินไป การยืนหรือเดินเป็นเวลานาน ออกกำลังการผิดวิธี การเคลื่อนหรือทำกิจกรรมในท่าที่ไม่ถูกต้อง

ท่าที่ 1 ท่าแมวและวัว (Cat and cow) : ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง
ท่าเริ่มต้น
  • อยู่ในท่าตั้งคลาน วางเข่าอยู่ระดับสะโพกและมือที่ระดับไหล่
  • จัดแนวกระดูกสันหลัง กระดูกคอ อกและเอวให้อยู่ระดับเดียวกัน

ท่าแมว (Cat Pose) ทำขณะหายใจออก

วิธีปฏิบัติ

  • โก่งหลังขึ้นหาเพดาน
  • ปล่อยศีรษะตกสบายๆ
  • ขมิบก้น กดเข่าลงพื้น
  • ขณะหายใจออก นับ1-3ช้าๆแล้วจึงเปลี่ยนเป็นท่าวัว

ท่าวัว (Cow Pose) ทำขณะหายใจเข้า

วิธีปฏิบัติ

  • แอ่นหลังและหย่อนหน้าท้องลงหาพื้น
  • เงยหน้ามองเพดานหรือมองไปด้านหน้า

 ความถี่ :ทำท่าแมวและวัวสลับกันช้าๆ นับเป็น 1 รอบ ทำ 10 รอบต่อวัน

ท่าที่ 1 ท่าแมว (Cat Pose)

 

ท่าที่ 1 ท่าวัว (Cow Pose)

 

ท่าที่ 2 ท่าเกร็งกดหลังและหน้าท้องลง (Pelvic tilt) : นอกจากช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ทั้งหลัง ก้นและหน้าท้องแล้ว ยังช่วยเพิ่มแรงดันในช่องท้องประคองไม่ให้แรงมากระทำกับกระดูกสันหลังมากเกินไป

วิธีปฏิบัติ

  • นอนหงาย ชันเข่าทั้งสองข้าง
  • เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องและสะโพกโดยการขมิบก้น แขม่วท้อง กดหลังติดพื้น
  • เกร็งค้างไว้นับ 1-5 ช้าๆ แล้วปล่อย ไม่ควรกลั้นหายใจขณะเกร็ง
  • นับ 1-5 ถือเป็น 1 รอบ

ความถี่: ทำ 10 รอบ/เซต (เช้า-เย็น)

 

ท่าที่ 2 ท่าเกร็งกดหลังและหน้าท้องลง (Pelvic tilt)  

 

 

ท่าที่ 3 ท่านอนบิดสะโพก (Trunk rotation) : เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณสะโพก

วิธีปฏิบัติ

  • นอนหงาย ชันเข่าทั้งสองข้าง
  • บิดเข่าทั้งสองข้างไปด้านใดด้านหนึ่งจนรู้สึกตึงบริเวณหลัง
  • ค้างไว้ 5 วินาที โดยไม่กลั้นหายใจ เพื่อเป็นการยืดหลัง

ความถี่ : ทำ 10 ครั้ง/เซต ทั้งหมด 10 เซต/วัน

*ข้อควรระวัง : ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังไม่คงที่และผู้ป่วยที่มีอาการชา หรือปวดร้าวลงขา ควรหยุดทันที

ท่าที่ 3 ท่านอนบิดสะโพก (Trunk rotation)

 

ท่าที่ 4 ท่าดึงเข่าชิดอก (Single knee to chest) : บริเวณหลังส่วนล่างจะถูกยืดเหยียด และลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ

วิธีปฏิบัติ

  • นอนราบบนพื้น งอเข่าหนึ่งข้างเข้าหาลำตัว
  • ประสานนิ้วมือทั้งสองข้างช้อนใต้เข่า
  • ดึงเข่าเข้าหาหน้าอกให้มากที่สุด จนรู้สึกตึงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและไม่เจ็บ
  • ทำค้างไว้ข้างละ 20 วินาที แล้วค่อยๆผ่อนลงไปท่านอนราบเหมือนเดิม
  • ทำด้านขวาสลับด้านซ้ายถือเป็น 1 รอบ

ความถี่: ทำ 10 รอบ/เซต (เช้า-เย็น)

ท่าที่ 4 ท่าดึงเข่าชิดอก (Single knee to chest)

 

ท่าที่ 5 ออกกำลังกายหน้าท้อง (Abdominal curl) : การที่กล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงส่งผลให้กล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนลึกช่วยประคองให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงมากขึ้น แล้วทำให้ปวดหลังน้อยลง

วิธีปฏิบัติ

  • นอนราบ ชันเข่าขึ้นทั้งสองข้าง
  • แขนสองข้างเหยียดตรงข้างลำตัว
  • ยกศีรษะและไหล่ขึ้นเหนือพื้นหรือเตียง
  • นับ 1-10 ค้างไว้ช้าๆ แล้วค่อยๆผ่อนลง ถือเป็น 1 รอบ
  • ค้าง 10 วินาที/รอบ

ความถี่: ทำ 10 รอบ/เซต (เช้า-เย็น)

ท่าที่ 5 ออกกำลังกายหน้าท้อง (Abdominal curl)

 

การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างกระดูกและกลล้ามเนื้อ จะช่วยลดแรงกดทับของกระดูกสันหลัง ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด  นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่างโดยเพิ่มความยืดหยุ่นและความสมดุลของกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

 

อาการปวดหลังส่วนล่างในผู้หญิง เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?

อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้หญิงและสาเหตุของอาการนี้อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ท่าทางไม่ถูกต้อง, การเคลื่อนไหวผิดปกติ, การบาดเจ็บหรือโรคทางการแพทย์ และบางปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในผู้หญิงได้ สาเหตุที่พบบ่อย มีดังนี้
1.การตั้งครรภ์: การถ่วงของครรภ์ที่อยู่ด้านหน้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กระดูกสันหลังแอ่นเป็นเวลานาน และการแบกรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวด นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะฮอร์โมนรีแลกซิน (Relaxin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากรังไข่ขณะตั้งครรภ์ เพื่อช่วยกระตุ้นการคลายตัวเอ็นยึดกระดูกเชิงกรานให้คลอดง่ายขึ้น ซึ่งบางครั้งส่งผลให้มีอาการปวดหลังได้ รวมถึงเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนเป็นต้นไป ทารกจะดึงแคลเซียมจากกระแสเลือดคุณแม่ไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เป็นเหตุให้เกิดการกร่อนของกระดูก นำมาซึ่งอาการปวดหลังในที่สุด
2.รอบเดือน: เมื่อฮอร์โมนเอสโทรเจน(Estrogen)และโพรเจสเทอโรน (Progesterone) ลดระดับลงแล้ว มดลูกจะเริ่มหดตัวเพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน ซึ่งในผู้หญิงบางคน มดลูกอาจจะหดตัวเยอะมากจนไปกดเส้นเลือดในบริเวณใกล้เคียง ทำให้ออกซิเจนไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อในบริเวณดังกล่าวได้มากเท่าที่ควร จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณท้องน้อย และลามมาถึงบริเวณหลังช่วงล่างได้
3.โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis): มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากฮอร์โมน เพศหญิงจะเห็นได้ชัดเจนในช่วง 5 ปีแรกของการหมดประจำเดือน ซึ่งในช่วงนั้นผู้หญิงจะมีการสูญเสียเนื้อกระดูกอย่างรวดเร็ว (3-5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี ) หรือสูงถึง 15-25 เปอร์เซ็นต์ของกระดูกในร่างกาย การสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย ส่งผลต่ออาการปวดหลังได้
4.Arthritis: การอักเสบของข้อต่อในกระดูกสันหลังสามารถก่อให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ พบบ่อยในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้น
5.การเคลื่อนไหวผิดวิธีหรือได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อ: สาเหตุนี้สามารถเกิดจากการยกของหนักๆ หรือการงอตัวหรือหมุนตัวผิดวิธี รวมถึงท่าทางในการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจทำให้ปวดหลังส่วนล่างได้
6.ปัญหาโครงสร้างของกระดูกสันหลัง: ผู้หญิงที่มีโรคกระดูกสันหลังคด (scoliosis), โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis) หรือปัญหาโครงสร้างอื่นๆ ในกระดูกสันหลังอาจมีโอกาสเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้มากขึ้น
7.โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniation disc): สาเหตุอาจเกิดจากการยกของหนักในท่าที่ผิด ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเกิดการปลิ้นหรือในแตก อาจส่งผลให้มีการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้างเคียง เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างหรือบางรายอาจมรอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย
8.โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis): โดยอาจแทรกตัวอยู่ในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก หรืออาจเล็ดลอดเข้าไปในช่องท้องจนไปเจริญเติบโตอยู่ตามอวัยวะต่างๆในอุ้งชิงกราน เช่น เยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ผนังลำไส้ และผนังกระเพาะปัสสาวะ เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่นี้ ถือเป็นปฏิกิริยาการอักเสบที่ขึ้นกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen-dependent, benign, inflammatory disease) เมื่อไปเจริญเติบโตอยู่ผิดที่ก็จะยังคงทำหน้าที่เช่นเดิม คือ สร้างประจำเดือน จึงทำให้มีเลือดสีแดงคล้ำหรือสีดำข้นคล้ายช็อกโกแลตขังอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการผิดปกติต่างๆที่พบได้ในผู้ป่วยโรคนี้ เช่น ปวดท้องลามไปถึงหลังส่วนล่าง ปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และมีบุตรยาก
9.Fibromyalgia: เป็นกลุ่มอาการปวดเรื้อรัง โดยอาการปวดมักจะกระจายหลายจุดตามร่างกาย โดยเฉพาะที่เป็นตำเหน่ง ของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย บริเวณที่พบว่ามีอาการบ่อยคือ ศีรษะ คอ บ่า และหลัง บางรายปวดทั้งตัว นอกจากอาการปวดยังอาจมีอาการร่วมอื่นๆได้หลายอาการ ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย นอนหลับไม่ สนิท สมาธิและความจำถดถอย รวมถึงความเครียดและอารมณ์ซึมเศร้า พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 8 เท่า พบมากในวัยกลางคนอายุระหว่าง 35-60 ปี
10.โรคนิ่วในไต (Kidney Stone):เกิดจากการตกตะกอนของสารในปัสสาวะ ในภาวะปติสารเหล่านี้จะละลายไม่จับตัวกันเป็นนิ่ว แต่ในผู้ที่เป็นโรคนิ่วจะมีภาวะที่ทำให้สารละลายต่างๆเกิดการตกตะกอนได้ง่ายกว่าปกติจนจับตัวเป็นก้อน หากเป็นนิ่วที่มีขนาดใหญ่ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดเอวเรื้อรัง มีการติดเชื้อในระบบปัสสาวะ และทำทำไตสูญเสียการทำงานจนเกิดภาวะไตวายได้
11.ชีสต์รังไข่ (Cystic ovary): ซีสต์มีลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปด้วยของเหลว ซึ่งสามารถก่อตัวขึ้นได้ในรังไข่ เมื่อเกิดการตกไข่ผิดปกติจะทำให้เกิดการคั่ง มีถุงน้ำในรังไข่ หรือไข่ไม่ตก ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำขนาดเล็กในรังไข่ทั้งสองข้าง มักพบอาการปวดท้อง ปวดปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะลำบาก เจ็บหรือปวดหลังส่วนล่าง ปวดประจำเดือนมากหรือมีเลือดออกผิดปกติ
12. ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease :PID) หมายถึง ภาวะที่มีการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน ได้แก่ มดลูก (endometritis) ท่อนำไข่ (salpingitis) รังไข่ (oophoritis) และเยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน (pelvic peritonitis) อาจก่อให้เกิดอาการปวดหลังล่าง รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น ปวดท้องและไข้ โดยส่วนต่างๆของระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง อาจเกิดการติดเชื้อ จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือจากเชื้อราและ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดหลังล่างหรืออาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาเพิ่มเติม
13.มะเร็ง (Cancer): ในกรณีที่หากพบว่ามีอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างรุนแรงและไม่สามารถอธิบายได้ว่ามาจากสาเหตุใด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเกิดจากมะเร็งที่กระจายไปยังกระดูกสันหลังหรือเนื้อเยื่อใกล้เคียงได้
14.ภาวะน้ำหนักเกิน (Obesity): ในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานส่งผลให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง น้ำหนักที่มากขึ้นบวกกับพุงที่ยื่นมาด้านหน้า ทำให้กล้ามเนื้อหลังออกแรงดึงมากขึ้น หลังแอ่นมาก และหากต้องดึงเป็นเวลานานๆ จะส่งผลให้หมอนรองกระดูกรับน้ำหนักไม่สมดุลกัน อาจเคลื่อนหรือปลิ้นทับเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อมเร็ว ปวดหลังเรื้อรังร้าวลงไปขา บางครั้งอาจมีการอ่อนแรงร่วมด้วย
15.ปัจจัยทางจิตวิทยา: ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า สามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ในผู้หญิงเมื่อความเครียด กล้ามเนื้อเกร็งตัวโดยที่เราไม่รู้ตัวและความกังวลจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความเครียด ร่างกายจึงหลั่งสารเคมีแห่งความเครียดออกไปสู่กล้ามเนื้อ เมื่อเกิดการสะสมากๆ ก็จะเกิดอาการปวดตามมาได้ เช่น ปวดหลัง, ไหล่และคอ เป็นต้น

วิธีการรักษาอาการปวดหลังล่างในผู้หญิงจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค และอาจรวมถึงการใช้ยารักษาอาการปวด กายภาพบำบัด การออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนักและเลิกสูบบุหรี่ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องผ่าตัด เช่น ในกรณีของการทำลายเส้นประสาทสันหลังหรือกระดูกสันหลังแตกอย่างรุนแรง จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาการและความกังวลที่อาจมีเสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้

Frozen shoulder หรือภาวะไหล่ติด

Frozen shoulder หรือภาวะไหล่ติด

ไหล่ติดเป็นภาวะที่มีการขยับข้อไหล่ได้น้อยลง โดยเริ่มจากน้อยๆเช่นไม่สามารถยกไหล่ได้สุดหรือไขว้หลังได้ไม่สุด หากไม่ทำการรักษาอาการจะเป็นมากขึ้นจนขยับได้น้อยลงกว่าเดิมหรือไม่ได้เลย


สาเหตุของข้อไหล่ติด

  • สาเหตุหลักคือการอักเสบของเนื้อเยื่อที่อยู่รอบข้อไหล่ ซึ่งเรียกว่า เยื่อหุ้มข้อไหล่ (Capsule) โดยปกติเยื่อหุ้มข้อไหล่จะค่อนข้างยืดหยุ่นและสามารถขยายหรือหดตัวตามการขยับของข้อไหล่ แต่เมื่อเกิดภาวะข้อไหล่ยึดติดขึ้น เยื่อหุ้มจะมีการอักเสบและหดตัวจนไม่สามารถยืดหยุ่นได้เหมือนเดิม ทำให้ขยับข้อไหล่ได้ลดน้อยลง และมีอาการปวดร่วมด้วยเสมอ
  • การบาดเจ็บที่ข้อไหล่ การกระแทก การขยับข้อไหล่เป็นเวลานาน การอักเสบของกล้ามเนื้อเอ็นรอบข้อไหล่ สามารถนำไปสู่การอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ได้ทั้งสิ้น ซึ่งส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีภาวะข้อไหล่ยึดติดในที่สุด

อาการข้อไหล่ติด

เกิดอาการปวดเจ็บตื้อๆ โดยอาการปวดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว อาการเด่นชัดคือไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้ มีอาการปวดเวลานอนทับ หรือเวลากลางคืน อาการของโรคมี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ระยะเจ็บปวด อาการปวดจะค่อยๆเพิ่มขึ้น อาจปวดแม้ไม่ได้ทำกิจกรรม ระยะนี้มักปวดนาน 6 สัปดาห์ – 9 เดือน มุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง

ระยะที่ 2 ระยะข้อยึด อาการปวดระยะแรกยังคงอยู่ แต่จะปวดลดลง การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยทั่วไประยะนี้อาจนาน 4 – 9 เดือน หรือนานกว่านี้

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง และการเคลื่อนไหวข้อไหล่จะค่อยๆดีขึ้นในช่วง 5 เดือน – 2 ปี แต่อย่างไรก็ตามหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา บางรายอาจเกิดภาวะขยับแขนหรือข้อไหล่ไม่ได้อย่างถาวร จนต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหา

 

การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยข้อไหล่ติด

  • ซักประวัติ ตรวจร่ายกายอย่างละเอียด และวินิจฉัยโรคโดยนักกายภาพบำบัด
  • TECAR Therapy หรือการรักษาด้วยคลื่นวิทยุ เหนี่ยวนำให้เกิดความร้อนลึกลงไปยังกล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มข้อไหล่ที่มีปัญหา เพื่อซ่อมแซมและคลายกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ที่แข็งเกร็ง อีกทั้งยังเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เยื่อหุ้มข้อไหล่ชั้นลึกอีกด้วย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและลดอาการปวด
  • Mobilization หรือการดัดดึงข้อต่อ ยืดกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เพิ่มความยืดหยุ่นของเยื่อหุ้มข้อไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณนั้น
  • Shockwave Therapy หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งตัวเป็นจุดกดเจ็บ ร่วมทั้งสลายพังผืด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด เร่งกระบวนการซ่อมแซมของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
  • High Power Laser Therapy หรือเครื่องเลเซอร์กำลังสูง สามารถลดอาการปวดอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมแซมเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อ
  • การยืดกล้ามเนื้อ
  • การออกกำลังกายหรือท่าบริหารเฉพาะบุคคล
  • Home program (ยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเอง+ออกกำลังกาย+ปรับพฤติกรรมและท่าทาง) เพื่อลดการบาดเจ็บของข้อไหล่ซ้ำๆ และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่

 

Spinal Stenosis

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) และ โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือ Herniated Nucleus Pulposus(HNP)

  โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) เป็นโรคที่เกิดจากอาการเสื่อมของประดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดพังผืดและกระดูกงอกทำให้โพรงเส้นประสาทแคบลง และบีบรัดบริเวณเส้นประสาทได้  มักพบอาการดังต่อไปนี้

-ปวดหลังร้าวลงสะโพกหรือขา

– มีอาการอ่อนแรงของขา

-มีอาการชาตาม ขาหรือเท้า

-อาการแย่ลงเมื่อเดินหรือยืนนานๆ หรือแอ่นหลังมากๆ

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือ Herniated Nucleus Pulposus(HNP)

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน โรคที่เกิดจากการฉีกขาดของเยื้อหุ้มหมอนรองกระดูกสันหลังชั้นนอก ทำให้สารน้ำหรือส่วนไส้ชั้นในหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลัง

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนจะแตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกด โดยมีอาการหลักๆ ดังนี้

-ปวดร้าวตามเส้นประสาท

-ปวดหลังส่วนล่าง

-ชาตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ

-อ่อนแรงตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ

-งอตัวลำบาก งอหลังได้ไม่สุด

-ปวดเมื่อทำกิจกรรม เช่น ออกแรง ไอ จาม เบ่ง

-ปวดมากเวลานั่งนายๆ เช่น นั่งขับรถ

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ยกของหนัก ยกของผิดท่า เดินเยอะ
  • การบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง เช่น การเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง
  • เนื้องอกหรือมะเร็งที่โตจนไปเบียดช่องไขสันหลัง

การรักษาทางกายภาพบำบัด

สามารถรักษาทางกายภาพบำบัดได้เพื่อรักษาอาการให้ดีขึ้น หรือป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรคมากกว่าเดิม หรือในผู้ที่ไม่อยากผ่าตัด

การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น

 การดึง หรือ Traction ช่วยยืดกล้ามเนื้อเพื่อคลายกล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัว ลดแรงกดที่ทำต่อข้อต่อของกระดูกคอหรือหลัง  ลดการกดทับของเส้นประสาท โดยการดึงทำให้ช่องว่างระหว่างของกระดูกสันหลังกว้างขึ้น ลดแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลังช่วยให้หมอนรองกระดูกกลับเข้าที่ได้ โดยทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังกว้างขึ้น ส่งผลให้อาการปวดหรือชาลดลงได้

เครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก หรือ Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)  เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้า ลงไปถึงเนื้อเยื่อและกระดูกได้ลึกประมาณ 10 ซม. คลื่นจาก PMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง มีการกระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวด ทำให้เกิดการไหลเวียนโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น รวมถึงส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กกระตุ้นแขน ขา บริเวณที่มีอาการชาหรืออ่อนแรง เร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาอาการเจ็บปวด ได้ทั้งปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง และยังมีกลไกการรักษาเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมสร้างของเนื้อเยื่ออีกด้วย

2.Mobilization เป็นการเคลื่อนไหวข้อต่อโดยให้แรงที่เป็นจังหวะซ้ำๆในช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่มีอาการติด หรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหว จะใช้รักษาในกรณีที่ตรวจเจอว่ามีข้อติด (ดัดดึงข้อต่อ) หรือมีกล้ามเนื้อที่ต้องใช้มือช่วยคลายความตึง
3.การออกกำลังกายเฉพาะบุคคล เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การบริหารเส้นประสาท
4.Home Program และการให้คำแนะนำต่างๆ โดยให้ท่าบริหารเฉพาะบุคคล และการแนะนำในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่างเพื่อป้องกันการเกิดความรุนแรงของโรคที่เพิ่มมากขึ้น

เข่าเสื่อม สาเหตุ ระยะต่างๆ การรักษา

อาการเข่าเสื่อม

อาการของเข่าเสื่อมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่เสียไป อาการสำคัญที่พบได้แก่

  1. ปวดเข่า – เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ที่มีเข่าเสื่อม โดยอาจมีความเจ็บปวดที่เข่าเมื่อเคลื่อนไหวหรือในท่าทางที่ต่างๆ เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือนั่ง-ยืน ปวดอาจเป็นเฉพาะที่เข่าหรือกระจายไปที่ตำแหน่งอื่นๆ เช่น สะโพก ขา หรือเท้า
  2. ความกังวล – ผู้ที่มีเข่าเสื่อมอาจมีความกังวลและความเป็นห่วงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเข่าและการทำกิจกรรมประจำวัน เนื่องจากอาการปวดเข่าอาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆ
  3. ความเจ็บปวดในเข่าที่เป็นตัวเข้าไปในโครงเข่า – ความเจ็บปวดในจุดที่อยู่ภายในโครงเข่ามักเกิดขึ้นในระยะท้ายของโรค เมื่อกระบวนการเสื่อมของเข่าเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนที่รุนแรงขึ้น
  4. ความตึงตัวและความจำกัดการเคลื่อนไหว – ผู้ที่มีเข่าเสื่อมอาจมีอาการความตึงตัวและความจำกัดในการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ส่งผลให้ไม่สะดวกในการเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ
  5. เจ็บเวียนและบวม – ผู้ที่มีเข่าเสื่อมอาจมีอาการเจ็บเวียนและบวมที่ข้อเข่า โดยเฉพาะในช่วงที่มีการใช้งานเข่ามาก เช่น การทำกิจกรรมที่ต้องเดินเหนื่อยๆ เป็นต้น
  6. ฟื้นฟูช้า – เมื่อเข่าเสื่อมถึงระยะที่รุนแรงขึ้น อาการที่เป็นผลจากการสูญเสียส่วนของกระดูกและเนื้อเยื่อบริเวณเข่าจะเกิดขึ้นได้ การฟื้นฟูจะต้องใช้เวลานานและอาจไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้

สำหรับผู้ที่มีเส้นของอายุ 50 ปีขึ้นไปและมีอาการปวดเข่า ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันเวลา เนื่องจากเข่าเสื่อมเป็นโรคที่มีผลกระทบในการทำกิจกรรมประจำวันและอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียศักยภาพในการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ การรักษาเข่าเสื่อมจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคและความรุนแรง โดยมีวิธีการรักษาหลายวิธี เช่น ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การสัมผัสและการแต่งตัวให้เหมาะสม การใช้ยาแก้ปวด การศึกษาวิธีการใช้เครื่องช่วยเดิน เป็นต้น ในกรณีที่อาการหนักและไม่ดีขึ้น อาจต้องพิจารณาถึงการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด เช่น การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หรือการตัดเนื้อเยื่อในเข่าเพื่อลดอาการปวด แต่การผ่าตัดจะเป็นวิธีการสุดท้ายเมื่อการรักษาด้วยวิธีอื่นไม่สามารถปรับปรุงสภาพของเข่าได้อีกต่อไป

สำหรับการป้องกันโรคเข่าเสื่อม ผู้ที่มีอายุมากๆ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บเข่า เช่น การวิ่งหรือกระโดดข้าม นอกจากนี้ การดูแลรักษาน้ำหนักของร่างกายเพื่อลดน้ำหนัก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเสริมสร้างระบบข้อเข่า และการสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับการเดินและการทำกิจกรรมอื่นๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันโรคเข่าเสื่อมด้วย


สาเหตุของเข่าเสื่อม

การเสื่อมของเข่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อและกระดูกของเข่าสูญเสียความสมบูรณ์ สาเหตุของการเสื่อมของเข่าอาจเป็นได้หลายปัจจัย ซึ่งสาเหตุที่สำคัญมีดังนี้

  1. อายุ – การเสื่อมของเข่าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยขึ้นเมื่อถึงอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งเนื่องจากการใช้งานของเข่าเป็นเวลานานเป็นส่วนใหญ่ จนเนื้อเยื่อและกระดูกของเข่าสูญเสียความสมบูรณ์มากขึ้น
  2. โรคข้อเข่าอักเสบ – เป็นภาวะที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อในข้อเข่า ซึ่งอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อและกระดูกของเข่าเสื่อมลง
  3. การบาดเจ็บของเข่า – เช่น การกระแทกหรือการกระตุกของข้อเข่า หรือการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่ต้องใช้เข่าเป็นส่วนหนึ่ง
  4. น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน – น้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเป็นภาระต่อเข่า ทำให้เกิดการกดเคี้ยวร้อยและการสึกหรอของเข่าบ่อยขึ้น ทำให้เกิดการเสื่อมของเข่าได้
  5. พันธุกรรม – บางครั้งการเสื่อมของเข่าอาจเกิดขึ้นจากพันธุกรรม
  6. โรคเบาหวาน – โรคเบาหวานอาจเป็นสาเหตุของการเสื่อมของเข่า เนื่องจากเบาหวานสามารถส่งผลต่อเส้นเลือดและเนื้อเยื่อในข้อเข่าได้
  7. การเจริญเติบโตผิดปกติของเข่า – เป็นภาวะที่เกิดจากพันธุกรรม และอาจทำให้เข่าเสื่อมได้ในวัยเยาว์
  8. ความเครียดและภาวะโรคซึมเศร้า – การเครียดและภาวะโรคซึมเศร้าอาจเป็นสาเหตุของการเสื่อมของเข่า จากการส่งผลต่อระบบการหมุนเวียนและการปลดปล่อยฮอร์โมนและสารเคมีในร่างกาย
  9. การทำงานที่ต้องใช้เข่าเป็นส่วนหนึ่ง – การทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องใช้เข่าเป็นส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน อาจเป็นสาเหตุของการเสื่อมของเข่า

สำหรับสาเหตุอื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุของการเสื่อมของเข่า อาจมีอีกมากกว่านี้ แต่สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด


เข่าเสื่อมมีกี่ระยะ

การเสื่อมของเข่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อและกระดูกของเข่าสูญเสียความสมบูรณ์และสามารถเกิดขึ้นในหลายระยะเวลา ระยะเวลาที่เข่าเสื่อมขึ้นนั้นอาจแตกต่างกันไปได้ในแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเสื่อมที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีการแบ่งระยะเวลาของการเสื่อมของเข่าออกเป็น 4 ระยะดังนี้

  1. ระยะเริ่มต้น (mild or early stage) – เป็นระยะที่มีการสูญเสียของเนื้อเยื่อและกระดูกเล็กน้อยเท่านั้น ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมและเจ็บปวดเล็กน้อยในขณะที่กำลังใช้งานเข่า แต่อาการนี้อาจหายไปเมื่อผู้ป่วยหยุดพักผ่อน
  2. ระยะกลาง (moderate stage) – เป็นระยะที่มีการสูญเสียเนื้อเยื่อและกระดูกมากขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเข่าเพิ่มขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวและทำกิจกรรม อาจมีอาการข้อต่ออักเสบและติดเชื้อด้วย
  3. ระยะสุดท้าย (severe stage) – เป็นระยะที่มีการสูญเสียเนื้อเยื่อและกระดูกมากที่สุด ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเข่ารุนแรงและมีการเจ็บปวดในตำแหน่งอื่น ๆ ด้วย เช่น เข่าเล็กลง หรือข้อเท้าบวม
  4. ระยะเฉียบพลัน (acute stage) -เป็นระยะที่มีการเสื่อมของเข่าเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเข่ารุนแรงมากๆ และไม่สามารถใช้งานขาได้อย่างปกติ ระยะเวลาของระยะเฉียบพลันนี้อาจแตกต่างกันไปได้ในแต่ละบุคคล แต่ทั่วไปแล้วระยะเวลานั้นจะไม่นานเท่ากับระยะเวลาของระยะเริ่มต้น หากมีอาการปวดเข่ารุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาเพื่อป้องกันการเสื่อมของเข่าแบบรุนแรงขึ้นในอนาคต

 


การออกกำลังกายของผู้ที่มีปัญหาเข่าเสื่อมในระยะเริ่มต้น

การออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีเข่าเสื่อมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและปลอดภัย โดยสามารถปฏิบัติได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคลและระดับความรุนแรงของโรค. ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายเพื่อประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการออกกำลังกาย.

ตัวอย่างของกิจกรรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีเข่าเสื่อมได้แก่:

  1. การเดินเร็วหรือการเดินระยะไกลๆ ในระดับที่เหมาะสม โดยการเดินจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของขาและช่วยปรับปรุงการเคลื่อนไหวของเข่า
  2. การวิ่งระยะสั้นๆ หรือการเดินลุกเร็ว-นั่งลงเร็ว
  3. การวิดเท้า หรือการเล่นเกมส์ที่ต้องใช้เท้า เช่น วงเงิน
  4. การเล่นปิงปอง เทนนิส และกีฬาแบดมินตัน
  5. การฝึกความสมดุลของร่างกาย และการฝึกการหายใจลึกๆ เพื่อช่วยลดความเครียดและปวดในช่วงการฟื้นตัว.

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดเข่าหรืออาการไม่ปกติอื่นๆ ในระหว่างการออกกำลังกาย ควรหยุดกิจกรรมทันทีและปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจสอบและการรักษาต่อไป.


การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในช่วง 3 เดือนแรก เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อช่วยให้ร่างกายหายขาดและฟื้นคืนสุขภาพได้เร็วขึ้น ดังนั้น ด้านล่างนี้เป็นการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าที่สำคัญ:

  1. หลังจากผ่าตัดเสร็จสิ้น ควรมีการนอนหลับที่ถูกต้องโดยใช้หมอนรองขาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเลือดภายในแผล
  2. ควรรักษาแผลและทำความสะอาดทุกวันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยใช้น้ำยาล้างแผลที่ระบายออกมาจากแผลในขณะอาบน้ำ
  3. ควรเคลื่อนไหวเป็นประจำโดยอยู่ในท่าที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการอักเสบและข้อต่ออืดตึง เช่น การยืดและงอข้อเข่า, การหมุนข้อเข่าแบบรวดเร็ว
  4. ควรเริ่มการกู้ฟื้นการยึดตึงของเส้นเอนโดยการเคลื่อนไหวเบาๆ
  5. ควรสังเกตและรายงานอาการที่ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น แผลบวม อาการปวดที่เพิ่มขึ้น หรืออาการปวดได้ยากขึ้น
  6. การออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและฟื้นฟูฟังก์ชันของข้อเข่า
  7. ควรติดตามการเข้ารักษาโดยแพทย์โดยใช้การฟื้นฟูศักย์กล้ามเนื้อและการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของการกู้ฟื้นหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า แต่อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายจะต้องทำโดยระมัดระวังโดยใช้ความระมัดระวังในการออกกำลังกายเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บหรือการอักเสบ
  8. ควรปฏิบัติตามการดูแลและฝึกฝนที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นคืนได้อย่างเต็มที่ และป้องกันการเกิดปัญหาทางสุขภาพใหม่
  9. ควรดูแลสุขภาพอย่างเต็มที่ โดยรับประทานอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอ ทานผักและผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอเพื่อฟื้นฟูร่างกาย
  10. หลีกเลี่ยงการนั่งท่างานที่ต้องใช้เวลานานๆและอยู่ในท่าเดิมๆเป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจทำให้ข้อเข่าหย่อนหรืออักเสบ
  11. ควรหลีกเลี่ยงการยืนนานๆหรือเดินเร็วเพื่อป้องกันการเจ็บปวดของข้อเข่า และการต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงที่ส่งผลต่อข้อเข่า
  12. ควรระมัดระวังเกี่ยวกับสภาพอากาศที่ช่วยทำให้ข้อเข่าอักเสบหรือบวม เช่น อากาศร้อน
  1. ควรเดินอย่างช้าๆและต้องระมัดระวังเมื่อเดินบนพื้นผิวที่ไม่เรียบ ๆ เช่น บนทางลาด หรือพื้นผิวที่มีความเปียกชื้น เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บปวดของข้อเข่า
  2. อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดเข่าหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ควรแจ้งแพทย์ทันที เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. ควรตรวจสอบและดูแลการแผ่รังสีของข้อเข่า เพื่อตรวจสอบว่ามีภาวะเสื่อมของข้อเข่าหรือไม่ และว่ามีการเจ็บปวดหรืออาการปวดในข้อเข่าหรือไม่
  4. ควรเป็นผู้ดูแลตัวเองโดยตรวจสอบสภาพของแผลที่ผ่าตัด และตรวจสอบว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ โดยสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากญาติหรือเพื่อนๆได้
  5. ควรติดตามอาการที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง เพื่อค้นหาอาการผิดปกติใด ๆ และแจ้งแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการที่ผิดปกติ
  6. หากมีอาการปวดเข่าหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ควรพักผ่อนและหลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่ามากเกินไป รวมถึงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกเช่นวิ่งหรือกระโดด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง และถ้ามีอาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถทนได้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา
  1. ควรระวังการใช้งานอุปกรณ์ที่ต้องใช้แรงมากเกินไป เช่น การพกของหนักหรือการขับรถจักรยาน โดยที่ต้องใช้แรงขับมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดเข่าหรืออาการที่แย่ลงได้
  2. สุขภาพดีและพักผ่อนเพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญในการฟื้นตัวหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และทานอาหารที่มีวิตามิน C เพราะวิตามิน C จะช่วยเสริมสร้างกระดูกและเสริมสร้างการสร้างเนื้อเยื่อที่ผ่านการผ่าตัด เช่น ผักเขียวหรือผลไม้

สุดท้ายนี้ ควรจะระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวและเข้าสู่สภาวะที่ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย และควรติดตามคำแนะนำและรับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอโดยแพทย์ที่ได้รับการกำหนดไว้ให้เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวและกลับสู่สภาวะที่ดีขึ้นได้อย่างปลอดภัยและประสบความสำเร็จในการฟื้นตัวหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า


 

การรักษาด้านกายภาพบำบัดสำหรับผู้มีปัญหาเข่าเสื่อม ไม่อยากผ่าตัด

Tecar therapy หรือ Transfer Electrical Capacitive and Resistive Therapy เป็นรูปแบบหนึ่งของกายภาพบำบัดที่ใช้คลื่นไฟฟ้าความถี่สูงเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูในเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียหาย มีหลักฐานบางส่วนที่ระบุว่าเทคนิคนี้อาจมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดและปรับปรุงฟังก์ชั่นในบุคคลที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อกำหนดประสิทธิภาพของเทคนิคนี้ในระยะยาวและการใช้งานที่เหมาะสม

การวิจัยระบบนี้ในบุคคลที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมพบว่าเมื่อใช้ร่วมกับการบำบัดด้วยการออกกำลังกาย อาจมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด เพิ่มฟังก์ชั่นร่างกายและคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้ระบุว่าข้อมูลยังจำกัดด้วยจำนวนเล็กและคุณภาพต่ำของการวิจัยที่มีการทำบนหัวข้อนี้

การวิจัยอีกแห่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Physical Therapy Science ปี 2018 ได้เปรียบเทียบผลของ Tecar therapy กับ Ultrasound therapy ในผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่าทั้งสองการบำบัดมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดและปรับปรุงฟังก์ชั่นของเข่า แต่ Tecar therapy มีประสิทธิภาพมากกว่า Ultrasound therapy

Tecar therapy ใช้การส่งผ่านคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงไปยังพื้นผิวที่มีการบาดเจ็บหรือเสียหาย เมื่อคลื่นไฟฟ้าผ่านไปผ่านเนื้อเยื่อจะสร้างการไหลของพลังงานภายในเนื้อเยื่อ ซึ่งอาจเพิ่มการไหลเวียนเลือด เสริมสร้างการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ ลดการอักเสบ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดและปรับปรุงฟังก์ชันของผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม

Tecar capacitive applicator คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ Tecar therapy เพื่อรักษาเส้นเอ็นท์ข้อเข่าเสื่อม โดยออกแบบมาเพื่อส่งออกฟิลด์ไฟฟ้าความถี่สูงเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียหาย การใช้เครื่องมือนี้บนเข่าที่เป็นโรคสามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ส่งเสริมการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ และลดการอักเสบซึ่งอาจช่วยลดอาการปวดและปรับปรุงการทำงานในบุคคลที่เส้นเอ็นท์ข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตาม มีการบอกเตือนว่า ยังไม่มีการกำหนดพารามิเตอร์การรักษาที่เหมาะสมสำหรับ Tecar therapy รวมถึงการใช้อุปกรณ์ capacitive applicator และอาจไม่เหมาะสมกับทุกคน ดังนั้น มีความสำคัญที่จะร่วมมือกับผู้ให้การดูแลสุขภาพเพื่อหาแผนการรักษาที่เหมาะสมกับความต้องการและเป้าหมายของแต่ละบุคคล

Tecar resistive applicator เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำ Tecar therapy เพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis) โดยต่างจาก capacitive applicator ที่มีการสร้างคลื่นไฟฟ้าแบบความจุ (capacitive) แล้วสร้างกระแสไฟฟ้าภายในเนื้อเยื่อ แต่ resistive applicator นั้นสร้างคลื่นไฟฟ้าแบบต้านทาน (resistive) ทำให้เกิดการต้านทานของเนื้อเยื่อ และเพิ่มอุณหภูมิของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งสามารถกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อในลักษณะที่ลึกลงไปได้ ซึ่งอาจช่วยลดอาการปวดและปรับปรุงฟังก์ชั่นของเข่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้

อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับ capacitive applicator การใช้ Tecar therapy ด้วย resistive applicator ต้องมีการกำหนดพารามิเตอร์การรักษาที่เหมาะสม และอาจไม่เหมาะกับทุกคน จึงจำเป็นต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เพื่อกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมกับความต้องการและเป้าหมายของแต่ละบุคคล

กายภาพบำบัด คือ?

กายภาพบำบัด

คืออาชีพด้านสุขภาพที่มุ่งเน้นในการปรับปรุงฟังก์ชันและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ป้องกันการบาดเจ็บหรือความพิการ และบรรเทาอาการปวด โดยใช้เทคนิคการบำบัดต่าง ๆ เช่น การบำบัดด้วยการใช้มือ การออกกำลังกาย การให้การศึกษาและเทคนิคการบำบัดอื่น ๆ กายภาพบำบัดสามารถนำมาใช้รักษาโรคและอาการต่าง ๆ ที่มีผลต่อระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อ รวมถึงระบบประสาท ระบบหัวใจ-หลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ

ผู้ประกอบการายภาพบำบัดทำงานร่วมกับผู้ที่มีอายุและศักยภาพต่าง ๆ ตั้งแต่ทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ นักกีฬา พนักงานออฟฟิศ และบุคคลที่มีอาการบาดเจ็บเฉพาะ หรือมีโรคเรื้อรังต่าง ๆ พวกเขาอาจทำงานในสถานบริการต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล คลินิก ศูนย์ฟื้นฟู สนามกีฬา โรงเรียน และคลินิกส่วนตัว จุดมุ่งหมายของกายภาพบำบัดคือการช่วยให้ผู้ที่มาใช้บริการบรรลุศักยภาพสูงสุดในการเคลื่อนไหวและฟังก์ชัน ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบได้ และเพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวม


 

กายภาพบำบัด มีการประเมิน วินิจฉัย และการรักษาผิดปกติของการเคลื่อนไหวและภาวะทางกายภาพ รวมถึงการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม นักกายภาพบำบัดใช้เทคนิคและเครื่องมือต่าง ๆ เช่น physical therapy modalities เช่น ความร้อน ความเย็น คลื่นกระแทก คลื่นอัลตร้าซาวด์ แสงเลเซอร์ และการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า และอุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น ไม้เท้าและสายรัดต่างๆ

 

 

กระบวนการของ physical therapy ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการประเมิน ซึ่งในขณะนั้นนักกายภาพบำบัดจะประเมินการเคลื่อนไหว ความแข็งแกร่ง ระยะการเคลื่อนไหว และความสามารถในการทำงานได้ จากนั้นพัฒนาแผนการรักษาส่วนบุคคลที่อาจรวมถึงการออกกำลังกาย การยืดเหยียด การบำบัดด้วยมือ และการแก้ไขอื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงการทำงาน ลดอาการเจ็บปวด และป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดสามารถใช้รักษาโรคหลากหลายประเภทได้ รวมถึงการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างเช่นเปลือกไหล่และเกร็งของกล้ามเนื้อ อาการปวดหลังและคอ โรคข้อเข่าเสื่อม และการฟื้นฟูหลังผ่าตัด และยังสามารถใช้รักษาโรคทางประสาทเช่นโรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชักและโรคพาร์กินสัน และโรคหัวใจปอด โรคเรื้อรังอุดกั้นทางเดินหายใจ (COPD) และภาวะหัวใจวาย โดยรวมแล้ว กายภาพบำบัดเป็นอาชีพที่สำคัญในระบบการดูแลสุขภาพ ช่วยให้บุคคลสามารถกู้คืนสภาพและความสามารถทางกายภาพได้ ช่วยปรับปรุงฟังก์ชันทางกายภาพ ลดอาการปวด และช่วยป้องกันการเกิดอันตรายต่อไปในอนาคต ทั้งนี้โดยการใช้เทคนิคและกลุ่มอื่น ๆ ของการรักษาเช่นการออกกำลังกายและการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยได้ในที่สุด


Physical therapists (PTs)

ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขากำลังก้าวไปสู่เป้าหมายของพวกเขา ปรับแผนการรักษาตามความจำเป็นและให้การศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันการบาดเจ็บและกลยุทธ์การจัดการด้วยตนเอง พวกเขาอาจร่วมมือกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น แพทย์ นักบำบัดอาชีพ และนักพูดภาษา เพื่อให้การดูแลที่ครอบคลุม

นอกจากการรักษาผู้มีภาวะโรคที่มีอยู่แล้วแล้ว นักกายภาพบำบัดยังสามารถเล่นบทบาทสำคัญในการป้องกันการบาดเจ็บและส่งเสริมสุขภาพโดยรวมได้ พวกเขาอาจทำงานร่วมกับบุคคลเพื่อเพิ่มระดับการออกกำลังกายของพวกเขา พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายที่ปลอดภัย และให้คำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและนิพจน์การดูแลสุขภาพที่ดี

โดยรวมแล้ว กายภาพบำบัดเป็นอาชีพด้านสุขภาพที่หลากหลายและสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยให้บุคคลทุกวัยและความสามารถได้รับประโยชน์ ผ่านการใช้เทคนิคและการแทนที่ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มฟังก์ชันทางกายภาพ บรรเทาความเจ็บปวด และปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยของพวกเขา

กายภาพบำบัดสามารถแบ่งออกเป็นหลายๆ สาขาได้ ซึ่งรวมถึง musculoskeletal therapy, neurological therapy, cardiovascular therapy, pain therapy และ pulmonary therapy ซึ่งเน้นการประเมินและการรักษาการเคลื่อนไหวและฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีผลต่อกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ ประสาท สมอง ไขสันหลัง หัวใจ และปอด นอกจากนี้ กายภาพบำบัดยังสามารถมีการเชี่ยวชาญในพื้นที่ต่างๆ เช่น กายภาพบำบัดสำหรับกีฬา, กายภาพบำบัดสำหรับเด็ก, กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ, และสุขภาพของผู้หญิง ซึ่งจะมุ่งเน้นการปรับปรุงสุขภาพของกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบเชิงพันธุกรรมของผู้ป่วยโดยเฉพาะ

Musculoskeletal therapy

เป็นส่วนหนึ่งของ Physical therapy ที่เน้นการประเมินและรักษาฟังก์ชันการเคลื่อนไหวและการทำงานของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับสภาวะที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ และเนื้อเยื่ออื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถปรับปรุงการเคลื่อนไหว ลดอาการปวด และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยได้ โดยประกอบไปด้วยการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การออกกำลังกายที่เหมาะสม การจัดตำแหน่งและการดูแลรักษาเนื้อเยื่อ การใช้เครื่องมือช่วยเหลือ เช่น ครัช และบริเวณรอบข้อต่อ การแพทย์แผนไทย และการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเก็บรักษาฟังก์ชันการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้ ซึ่งหลายครั้ง Musculoskeletal therapy ก็ถูกใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูหลังการผ่าตัดหรือการบาดเจ็บเป็นต้น

Neurological therapy

หมายถึงการบำบัดที่เน้นไปที่ระบบประสาทและสมอง เช่น การรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) การกู้ฟื้นหลังเหตุการณ์เลือดออกในสมอง (stroke) และภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท การบำบัดส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การฝึกฝนและการประเมินฟังก์ชันการเคลื่อนไหว และการเพิ่มพลังและสมรรถภาพของระบบประสาทในการควบคุมการเคลื่อนไหว

การกายภาพบำบัดเชิงหัวใจหลอดเลือด (cardiovascular therapy)

เน้นการปรับปรุงระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีเชิงกลไกทางกายภาพ ด้วยการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจ ลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด การกายภาพบำบัดเชิงหัวใจหลอดเลือดอาจใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกายแบบเจาะจง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกส์ (aerobics) หรือการใช้เครื่องจักรออกกำลังกาย (exercise equipment) เช่น treadmill, stationary bike เป็นต้น ซึ่งจะเหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจและหลอดเลือดผิดปกติ หรือมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต โดยการกายภาพบำบัดเชิงหัวใจหลอดเลือดจะช่วยเสริมสร้างฟื้นฟูฟังก์ชันการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ลดอาการเหนื่อยหอบ ลดอาการปวดหัวใจ ปรับปรุงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต

Pain therapy

หรือ การรักษาอาการเจ็บปวดเป็นพื้นที่เฉพาะของกายภาพบำบัดที่เน้นการประเมินและการรักษาอาการเจ็บปวดในร่างกาย นักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญในการรักษาอาการเจ็บปวดจะใช้เทคนิคและการแทนที่ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถจัดการกับอาการเจ็บปวดได้ รวมถึงการบำบัดด้วยการนวดแบบมือ, การออกกำลังกายเพื่อบำบัด, อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น ไม้เท้าและคางเท้า และเทคนิคการผ่อนคลาย จุดมุ่งหมายของ pain therapy คือการบรรเทาอาการปวดและปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้บุคคลสามารถเข้าร่วมกิจกรรมประจำวันได้อย่างไม่มีความรู้สึกไม่สบาย การรักษาอาการเจ็บปวดสามารถใช้ได้สำหรับการรักษาอาการเจ็บปวดเรื้อรัง อาการเจ็บปวดที่เกี่ยวกับการบาดเจ็บหรือการผ่าตัดกระดูกและกล้ามเนื้อ โดย pain therapy ยังสามารถรักษาอาการเจ็บปวดเฉพาะตำแหน่งในภาวะที่ต้องการการดูแลเฉพาะ เช่น อาการปวดคอหลัง อาการปวดกล้ามเนื้อ และอาการปวดเนื้อเยื่ออ่อนในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

Pulmonary therapy

หรือที่เรียกว่า respiratory therapy เป็นสาขาทางการกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญในการประเมินและรักษาโรคที่มีผลต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ นักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจใช้เทคนิคและการแทนที่ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการหายใจได้ รวมถึงการฝึกหัดการหายใจ การล้างเสมหะในทางเดินหายใจ และเทคนิคการจัดการพลังงานในการทำกิจกรรมประจำวัน จุดมุ่งหมายของการบำบัดทางเดินหายใจคือการปรับปรุงฟังก์ชันของปอด ลดอาการหอบหายใจ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด โรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง (COPD) โรคไตเต็มเนื้อ (cystic fibrosis) และมะเร็งปอด