โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) และ โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือ Herniated Nucleus Pulposus(HNP)
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis)
เป็นโรคที่เกิดจากอาการเสื่อมของประดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดพังผืดและกระดูกงอกทำให้โพรงเส้นประสาทแคบลง และบีบรัดบริเวณเส้นประสาทได้ มักพบอาการดังต่อไปนี้
-ปวดหลังร้าวลงสะโพกหรือขา
– มีอาการอ่อนแรงของขา
-มีอาการชาตาม ขาหรือเท้า
-อาการแย่ลงเมื่อเดินหรือยืนนานๆ หรือแอ่นหลังมากๆ
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือ Herniated Nucleus Pulposus(HNP)
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน โรคที่เกิดจากการฉีกขาดของเยื้อหุ้มหมอนรองกระดูกสันหลังชั้นนอก ทำให้สารน้ำหรือส่วนไส้ชั้นในหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลัง
อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
จะแตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกด โดยมีอาการหลักๆ ดังนี้
-ปวดร้าวตามเส้นประสาท
-ปวดหลังส่วนล่าง
-ชาตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
-อ่อนแรงตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
-งอตัวลำบาก งอหลังได้ไม่สุด
-ปวดเมื่อทำกิจกรรม เช่น ออกแรง ไอ จาม เบ่ง
-ปวดมากเวลานั่งนายๆ เช่น นั่งขับรถ
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ยกของหนัก ยกของผิดท่า เดินเยอะ
- การบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง เช่น การเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง
- เนื้องอกหรือมะเร็งที่โตจนไปเบียดช่องไขสันหลัง
การรักษาทางกายภาพบำบัด
สามารถรักษาทางกายภาพบำบัดได้เพื่อรักษาอาการให้ดีขึ้น หรือป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรคมากกว่าเดิม หรือในผู้ที่ไม่อยากผ่าตัด
1.การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น
การดึง หรือ Traction
ช่วยยืดกล้ามเนื้อเพื่อคลายกล้ามเนื้อที่มีการเกร็งตัว ลดแรงกดที่ทำต่อข้อต่อของกระดูกคอหรือหลัง ลดการกดทับของเส้นประสาท โดยการดึงทำให้ช่องว่างระหว่างของกระดูกสันหลังกว้างขึ้น ลดแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลังช่วยให้หมอนรองกระดูกกลับเข้าที่ได้ โดยทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังกว้างขึ้น ส่งผลให้อาการปวดหรือชาลดลงได้
เครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก หรือ Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้า ลงไปถึงเนื้อเยื่อและกระดูกได้ลึกประมาณ 10 ซม. คลื่นจาก PMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง มีการกระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวด ทำให้เกิดการไหลเวียนโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น รวมถึงส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กกระตุ้นแขน ขา บริเวณที่มีอาการชาหรืออ่อนแรง เร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาอาการเจ็บปวด ได้ทั้งปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง และยังมีกลไกการรักษาเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมสร้างของเนื้อเยื่ออีกด้วย
2.Mobilization เป็นการเคลื่อนไหวข้อต่อโดยให้แรงที่เป็นจังหวะซ้ำๆในช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่มีอาการติด หรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหว จะใช้รักษาในกรณีที่ตรวจเจอว่ามีข้อติด (ดัดดึงข้อต่อ) หรือมีกล้ามเนื้อที่ต้องใช้มือช่วยคลายความตึง
3.การออกกำลังกายเฉพาะบุคคล เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การบริหารเส้นประสาท
4.Home Program และการให้คำแนะนำต่างๆ โดยให้ท่าบริหารเฉพาะบุคคล และการแนะนำในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่างเพื่อป้องกันการเกิดความรุนแรงของโรคที่เพิ่มมากขึ้น
ติดต่อเรา
Tel:098 225 2255
Facebook:Bangkok pain clinic คลินิกกายภาพบำบัด
Gmail:bangkokpainclinic@gmail.com
Website:bangkokpainclinic.com