คลินิกกายภาพบำบัด บางพลัด MRT สิรินธร

Frozen shoulder หรือภาวะไหล่ติด

Frozen shoulder หรือภาวะไหล่ติด

ไหล่ติดเป็นภาวะที่มีการขยับข้อไหล่ได้น้อยลง โดยเริ่มจากน้อยๆเช่นไม่สามารถยกไหล่ได้สุดหรือไขว้หลังได้ไม่สุด หากไม่ทำการรักษาอาการจะเป็นมากขึ้นจนขยับได้น้อยลงกว่าเดิมหรือไม่ได้เลย


สาเหตุของข้อไหล่ติด

  • สาเหตุหลักคือการอักเสบของเนื้อเยื่อที่อยู่รอบข้อไหล่ ซึ่งเรียกว่า เยื่อหุ้มข้อไหล่ (Capsule) โดยปกติเยื่อหุ้มข้อไหล่จะค่อนข้างยืดหยุ่นและสามารถขยายหรือหดตัวตามการขยับของข้อไหล่ แต่เมื่อเกิดภาวะข้อไหล่ยึดติดขึ้น เยื่อหุ้มจะมีการอักเสบและหดตัวจนไม่สามารถยืดหยุ่นได้เหมือนเดิม ทำให้ขยับข้อไหล่ได้ลดน้อยลง และมีอาการปวดร่วมด้วยเสมอ
  • การบาดเจ็บที่ข้อไหล่ การกระแทก การขยับข้อไหล่เป็นเวลานาน การอักเสบของกล้ามเนื้อเอ็นรอบข้อไหล่ สามารถนำไปสู่การอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ได้ทั้งสิ้น ซึ่งส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีภาวะข้อไหล่ยึดติดในที่สุด

อาการข้อไหล่ติด

เกิดอาการปวดเจ็บตื้อๆ โดยอาการปวดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว อาการเด่นชัดคือไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้ มีอาการปวดเวลานอนทับ หรือเวลากลางคืน อาการของโรคมี 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ระยะเจ็บปวด อาการปวดจะค่อยๆเพิ่มขึ้น อาจปวดแม้ไม่ได้ทำกิจกรรม ระยะนี้มักปวดนาน 6 สัปดาห์ – 9 เดือน มุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง

ระยะที่ 2 ระยะข้อยึด อาการปวดระยะแรกยังคงอยู่ แต่จะปวดลดลง การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยทั่วไประยะนี้อาจนาน 4 – 9 เดือน หรือนานกว่านี้

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง และการเคลื่อนไหวข้อไหล่จะค่อยๆดีขึ้นในช่วง 5 เดือน – 2 ปี แต่อย่างไรก็ตามหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา บางรายอาจเกิดภาวะขยับแขนหรือข้อไหล่ไม่ได้อย่างถาวร จนต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหา

 

การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยข้อไหล่ติด

  • ซักประวัติ ตรวจร่ายกายอย่างละเอียด และวินิจฉัยโรคโดยนักกายภาพบำบัด
  • TECAR Therapy หรือการรักษาด้วยคลื่นวิทยุ เหนี่ยวนำให้เกิดความร้อนลึกลงไปยังกล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มข้อไหล่ที่มีปัญหา เพื่อซ่อมแซมและคลายกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ที่แข็งเกร็ง อีกทั้งยังเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่เยื่อหุ้มข้อไหล่ชั้นลึกอีกด้วย ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและลดอาการปวด
  • Mobilization หรือการดัดดึงข้อต่อ ยืดกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เพิ่มความยืดหยุ่นของเยื่อหุ้มข้อไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณนั้น
  • Shockwave Therapy หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งตัวเป็นจุดกดเจ็บ ร่วมทั้งสลายพังผืด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด เร่งกระบวนการซ่อมแซมของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
  • High Power Laser Therapy หรือเครื่องเลเซอร์กำลังสูง สามารถลดอาการปวดอักเสบเฉียบพลัน กระตุ้นการซ่อมแซมเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อ
  • การยืดกล้ามเนื้อ
  • การออกกำลังกายหรือท่าบริหารเฉพาะบุคคล
  • Home program (ยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเอง+ออกกำลังกาย+ปรับพฤติกรรมและท่าทาง) เพื่อลดการบาดเจ็บของข้อไหล่ซ้ำๆ และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่